1. วัตถุประสงค์
นโยบายในการใช้กล้องวงจรปิดนี้จะเป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้กล้องวงจรปิดภายในมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (ต่อไปในนโยบายนี้จะเรียกว่า “มหาวิทยาลัย”)
อุปกรณ์กล้องวงจรปิดจะถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- ป้องกัน สืบสวน และตรวจหาการก่ออาชญากรรมต่อบุคคลและ/หรือทรัพย์สิน
- การเข้าจับกุมและการฟ้องร้องผู้กระทำผิด (รวมทั้งการใช้งานภาพเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีอาญา)
- ความปลอดภัยของนักเรียน ผู้มาติดต่อ ผู้รับเหมา ลูกจ้าง และพนักงาน
- ตรวจติดตามความมั่นคงปลอดภัยของสถานที่และสินทรัพย์
2. ขอบเขต
นโยบายเรื่องกล้องวงจรปิดนี้จะถูกนำไปใช้กับพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาวิทยาลัย
นโยบายเรื่องกล้องวงจรปิดนี้จะถูกนำไปบังคับใช้กับนักเรียน ลูกจ้าง พนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มาติดต่อทั้งหมดของ มหาวิทยาลัย
นโยบายเรื่องกล้องวงจรปิดนี้จัดทำขึ้นตามแนวทางและได้รับการสนับสนุนจากข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“พระราชบัญญัติฯ”) ของประเทศไทย
การเปิดเผยภาพบันทึกทั้งหมดที่ได้จากกล้องวงจรปิดจะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลและผู้อำนวยการแผนกทรัพยากรบุคคล
3. การติดตั้งกล้องวงจรปิดตามเส้นทางและการทำป้ายแจ้งเตือน
ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดจะไม่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ข้างต้น จะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและกำหนดตำแหน่งไว้ เพื่อที่จะตรวจติดตามจุดยุทธศาสตร์หรือพื้นที่ยุทธศาสตร์ซึ่งตั้งใจว่าจะควบคุมดูแล เว้นแต่พื้นที่บางแห่งเช่น ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำ ทั้งนี้ จะมีป้ายแจ้งเตือนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ภายในบริเวณพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่มีการเฝ้าระวังโดยกล้องวงจรปิด ทั้งนี้ กล้องวงจรปิดจะต้องได้รับการจำกัด/ควบคุมการเคลื่อนที่ เพื่อหลีกเลี่ยงมีให้กล้องส่องไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องการ ผู้ควบคุมกล้องวงจรปิดจะต้องทราบถึงข้อกำหนดเรื่องความเป็นส่วนตัวในการใช้งานกล้องวงจรปิด
4. การจัดเก็บและการเก็บรักษาภาพที่บันทึกไว้
- โดยทั่วไปแล้ว มีการเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 30 วัน และหลังจากนั้นก็จะมีการลบข้อมูลโดยเป็นไปตามหลักการเรื่องการจำกัดข้อมูล ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสามารถที่จะกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาไว้นานกว่านั้นได้หากมีเหตุผลที่เพียงพอ
- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ข้อมูลถูกนำมาใช้ในการสืบสวนหรือใช้เป็นหลักฐาน ก็จะมีการเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นระยะเวลานานเท่าที่จำเป็นต่อการสืบสวน
- หากข้อมูลถูกเก็บรักษาไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ก็จะมีการเก็บรักษาข้อมูลไว้ในสถานที่ปลอดภัยและมีการควบคุมการเข้าถึง
- ไม่ว่าผู้ใดก็ตามซึ่งไม่ใช่ผู้ควบคุมอุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ในการดูหน้าจอที่แสดงภาพพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะต้องรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับบุคคล
- มีเพียง แผนกทรัพยากรบุคคล หรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงและการดูภาพที่บันทึกไว้ได้ และจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าถึงตามคำร้องขอหรือไม่โดยเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลของเราที่จัดทำไว้
- การเคลื่อนย้ายและการส่งคืนสื่อที่บันทึกข้อมูลเพื่อนำไปดูภาพจะต้องได้รับการบันทึกไว้
- ผู้ควบคุมและลูกจ้างทุกคนที่สามารถเข้าถึงภาพที่บันทึกไว้ได้จะต้องทราบถึงระเบียบปฏิบัติในการเข้าถึงภาพที่บันทึกไว้
- การเคลื่อนย้ายและการส่งคืนสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการดำเนินคดีจะต้องได้รับการบันทึกไว้
- พนักงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ควบคุมอุปกรณ์กล้องวงจรปิดทุกคนจะต้องคุ้นเคยและปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติของเราว่าด้วยเรื่องการเก็บรักษาและจัดเก็บภาพที่บันทึกไว้
5. การเข้าถึงภาพที่บันทึกไว้โดยบุคคลภายนอกและการเปิดเผยภาพที่บันทึกไว้ต่อบุคคลภายนอก
- จะมีเพียงพนักงานที่ได้รับการรับรองเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงภาพที่บันทึกไว้ได้
- การเข้าถึงสื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทุกครั้งจะต้องถูกบันทึกไว้
- การเปิดเผยข้อมูลจะอยู่ภายใต้บังคับของสัญญาว่าด้วยการรักษาความลับเว้นแต่กฎหมายจะกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล
- คำร้องทั้งหมดในการขอเข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับการบันทึกไว้ หากมีการปฏิเสธการเข้าถึงหรือการเปิดเผยข้อมูล ก็จะต้องมีการบันทึกเหตุผลไว้
- การเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลภายนอกจะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
- หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายขอให้เปิดเผยซึ่งภาพที่บันทึกไว้จะช่วยในการสอบสวนคดีอาชญากรรม
- หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการฟ้องร้องดำเนินคดีขอให้เปิดเผย
- ตัวแทนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องขอให้เปิดเผย
- บุคคลที่ภาพของตนเองถูกบันทึกและเก็บรักษาไว้ขอให้เปิดเผย (เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลที่จะส่งผลกระทบต่อการสอบสวนคดีอาชญากรรมการพิจารณาคดีอาญา)
- จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสื่อ เว้นแต่จะเป็นไปตามนโยบายในการสื่อสารของเราและเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จะไม่มีการเปิดเผยภาพที่บันทึกไว้ต่อสาธารณชน เช่น บนอินเทอร์เน็ต
6. การเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของข้อมูล
ลูกจ้างหรือผู้ควบคุมอุปกรณ์กล้องวงจรปิดทุกคนจะต้องยอมรับหน่อยคำร้องขอเข้าถึงข้อมูลและจะต้องเข้าใจรวมทั้งปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการขอเข้าถึงข้อมูลโดยเจ้าของข้อมูลของเรา
7. สิทธิของเจ้าของข้อมูล
ภายใต้บังคับของเงื่อนไขและข้อยกเว้นตามกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ ท่านอาจจะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงและ/หรือขอรับสำเนา นำออก ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลที่บันทึกไว้บนระบบกล้องวงจรปิดไม่สามารถระบุตัวตนได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีอยู่ รวมทั้งจำกัดและ/หรือคัดค้านการดำเนินการบางประเภท ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้รับการประมวลผลโดยได้รับความยินยอมจากท่าน ท่านอาจเพิกถอนความยินยอมของตนเอง หากแต่มหาวิทยาลัยอาจจะไม่สามารถจัดหาสินค้าหรือบริการให้แก่ท่านได้ นอกจากนั้น ท่านยังมีสิทธิ์ที่จะร้องขอให้มหาวิทยาลัยเปิดเผยวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากท่านตลอดจนยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่มีอำนาจโดยเป็นไปตามกฎหมายที่นำมาบังคับใช้
8. ข้อมูลการติดต่อ
หากท่านมีข้อซักถามหรือข้อกังวลใจหรือมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของท่านที่บันทึกไว้ในระบบกล้องวงจรปิด กรุณาติดต่อกับเราหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลของเราได้ที่
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลของเรา
แผนกนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล
เลขที่ 16 ถนนมอเตอร์เวย์ (กม.2) แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
อีเมล: pdpa@stamford.edu
9. การทบทวน
นโยบายเรื่องกล้องวงจรปิดนี้ได้รับการจัดทำขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 และทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการทบทวนนโยบายเป็นประจำทุกปีหรือเป็นครั้งคราวแล้วแต่ความจำเป็นขึ้นอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้แน่ใจว่ามาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยมีประสิทธิผลและเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำของกฎหมายตามที่กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้